วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2554

IP Camera Control with Android

IP Camera Control with Android
( ควบคุม กล้อง วงจรปิด ด้วย Android )



-->




Use with Foscam FI8918W Wireless IP Camera
The Foscam FI8918W Wireless IP Camera features high quality video and audio, pan/tilt, remote internet viewing, motion detection, night-vision as well as a built in network video recording system. In addition, it is smartphone compatible (Iphone, Android & Blackberry) as well as viewable over the internet network using the standard Safari browser (no app necessary). The camera functions well as an Iphone baby monitor or as part of a home or office security system with remote internet monitoring ability.


Model FI8918W
Resolution No
Color Black
Image Sensor 1/4" Color CMOS Sesor
Display Resolution 640x480 Pixels (300k Pixels)
Lens f: 3.6mm, F:2.4 (IR Lens)
Mini Lumination 0.5Lux
Lens Type Glass Lens
Viewing Angle 67 Degree
Input Built-In Microphone
Output Built-In Speaker
Audio Compression ADPCM
Image Compression MJPEG
Image Frame Rate 15fps(VGA), 30fps (QVGA)
Flip Mirror Images Verical / Horizontal
Light Frequency 50Hz, 60Hz or Outdoor
Video Parameters Brightness, Contrast
Ethernet One 10/100 MBPS RJ - 45
Wireless Standards IEEE 802.11 b/g
Data Rate 802.11 b/g: 11 MBPS (max), 802.11g: 54MBPS (max)
Wireless Security WEP & WPA WPA2 Encryption
Pan/Tilt Angle Horizontal: 300°ree; & Vertical: 120°ree
Infrared Light 11 IR, LEDs, Night visibility upto 8 meters
Gross Weight 768g (Color box size: 200x124x189mm)
Net Weight 418g (Accessories Included)
Storage Temperature -10°ree ~ 60°ree (14°ree F ~ 140°ree F)
Storage Humidity 0% - 90% non-condensing
CPU 2.0GHZ or above (suggested 3.0 GHZ)
Memory Size 256 MB or above (suggested 1.0 GB)
Display Card 64M or Above
Supported OS Microsoft Windows 2000 / XP / Vista / 7 / Mac
Browser IE 6.0, IE 7.0, Firefox, Safari (no sound), and other standard browser
Certification CE, FCC
Warranty Limited 1-year warranty


รับเขียนโปรแกรม Android Application และสอนการเขียนโปรแกรม สอน online ได้
อดุลย์ 081-6452400  e-mail fongwe_a@hotmail.com

more info about Android Development
http://androiddevelopersthai.blogspot.com/

Android example code 
http://androidcodeexample.blogspot.com/

วันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Android Magnetic Fields Sensor Detection App.




Android Magnetic Fields Sensor Detection App.




















 We've test Magnetic Fields Sensor for Android Mobile phone.( LG Optimus One P500 )

public class

GeomagneticField

extends Object
java.lang.Object
   ↳ android.hardware.GeomagneticField

Class Overview

This class is used to estimated estimate magnetic field at a given point on Earth, and in particular, to compute the magnetic declination from true north.
This uses the World Magnetic Model produced by the United States National Geospatial-Intelligence Agency. More details about the model can be found at http://www.ngdc.noaa.gov/geomag/WMM/DoDWMM.shtml. This class currently uses WMM-2010 which is valid until 2015, but should produce acceptable results for several years after that. Future versions of Android may use a newer version of the model.

Summary

Public Constructors
GeomagneticField(float gdLatitudeDeg, float gdLongitudeDeg, float altitudeMeters, long timeMillis)
Estimate the magnetic field at a given point and time.
Public Methods
float getDeclination()
float getFieldStrength()
float getHorizontalStrength()
float getInclination()
float getX()
float getY()
float getZ()
[Expand]
Inherited Methods
From class java.lang.Object



more info about Android Development
http://androiddevelopersthai.blogspot.com/

วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Overview Java Programming for Android #2










Overview Java Programming for Android #2

ตัวดำเนินการ (Operator)
Ø นิพจน์ภาษาจาวาอาจจะประกอบด้วยข้อมูลค่าคงที่ ตัวแปร หรือค่าคงที่ต่างๆ โดยจะมีตัวดำเนินการต่างๆ ไว้เพื่อคำนวณหาผลลัพธ์ที่เป็นชนิดข้อมูลต่างๆ
Ø ตัวดำเนินการในภาษาจาวาแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ
·       ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic Operator)
·       ตัวดำเนินการแบบสัมพันธ์ (Relational Operator)
·       ตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ (Logical Operator)
·       ตัวดำเนินการแบบบิต (Bitwise Operator)
ตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์


ตัวดำเนินการเพิ่มค่าและลดค่า
Ø ตัวดำเนินการเพื่อบวกค่าทีละ 1 หรือลดค่าทีล่ะ 1
Ø เครื่องหมาย ++หรือ
Ø ตัวอย่าง
·       X++  คือ  x = x+1
·       ++x  คือ x = x+1
·       X- - คือ x = x-1
Ø ถ้าวางเครื่องหมายไว้ข้างหน้า โปรแกรมจะคำนวณค่าก่อนแล้วจึงทำคำสั่ง
Ø ถ้าเครื่องหมายไว้ข้างหลัง โปรแกรมจะคำนวณค่าหลังจากทำคำสั่ง


การแปลงชนิดข้อมูล
Ø ในกรณีที่ตัวถูกดำเนินการทั้งสองมีชนิดข้อมูลที่ต่างกัน ภาษาจาวาจะมีหลักการแปลงชนิดข้อมูล (type conversion) ดังนี้
-                   ถ้าตัวถูกกดำเนินการตัวหนึ่งมีชนิดข้อมูลเป็น double ตัวถูกดำเนินการอีกตัวหนึ่งจะถูกแปลงให้มีชนิดข้อมูลเป็น double โดยอัตโนมัติ
-                   ถ้าตัวถูกดำเนินการทั้งสองไม่ได้มีชนิดจ้อมูลเป็น double แต่มีตัวถูกดำเนินการตัวหนึ่งที่มีชนิดข้อมูลเป็น long ตัวถูกดำเนินการอีกตัวหนึ่งจะถูกแปลงให้มีชนิดข้อมูลเป็น float โดยอัตโนมัติ
-                   ถ้าตัวถูกดำเนินการทั้งสองไม่ได้มีชนิดข้อมูลเป็น double หรือ float แต่มีตัวถูกดำเนินการตัวหนึ่งที่มีชนิดข้อมูลเป็น long ตัวถูกดำเนินการอีกตัวหนึ่งจะถูกแปลงให้มีชนิดข้อมูลเป็น long โดยอัตโนมัติ

การแปลงชนิดข้อมูล
Ø ตัวถูกดำเนินการ  2 ค่าตัวแปร จะแปลงให้มีชนิดข้อมูลเป็น int
Ø ตัวอย่าง
Byte b1,b2,b3;
b1 = 2;
b2 = 4;
b3 = b1+b2;         //illega1
-คำสั่งที่กำหนดค่า b3 ไม่ถูกต้องเนื่องจาก b1+b2 จะให้ค่าข้อมูลที่มีชนิดข้อมูลเป็น int
Ø การแปลงชนิดข้อมูลมีสองรูปแบบคือ
-                   การแปลงข้อมูลที่กว้างขึ้น (widening conversion) คือการแปลงจากชนิดข้อมูลที่มีขนาดเล็กกว่าไปเป็นชนิดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่า
-                   การแปลงข้อมูลที่แคบลง (narrowing conversion) คือการแปลงจากชนิดข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าไปเป็นชนิดข้อมูลที่มีขนาดเล็กลง ซึ่งอาจมีผลให้เสียความละเอียดของข้อมูลบางส่วนไป
หลักการการแปลงชนิดข้อมูล
Ø ชนิดข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็มสามารถแปลงให้เป็นชนิดข้อมูลตัวเลขทศนิยมได้
Ø ชนิดข้อมูล float สามารถแปลงให้เป็นชนิดข้อมูล double ได้
Ø ชนิดข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็มมีขนาดเรียงกันจากน้อยไปหามากดังนี้
                byte > short > int > long
Ø ชนิดข้อมูล char สามารถแปลงให้เป็นชนิดข้อมูล int ได้
Ø ชนิดข้อมูล Boolean จะไม่มีค่าความสัมพันธ์กับชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานอื่น ๆ
                byte > short,char > int > long > float > double
     ตัวอย่างของการแปลงชนิดข้อมูล 
      ภาษาจาวาจะปรับชนิดข้อมูลให้อัตโนมัติ ในกรณีต่อไปนี้
Ø กำหนดค่าชนิดข้อมูลที่เล็กกว่าให้กับตัวแปรชนิดข้อมูลที่ใหญ่กว่าอาทิ เช่น
·       int I  =  4 ;
·       long  =  i ;
นิพจน์ i จะถูกปรับชนิดข้อมูลจาก int ให้เป็น long โดยอัตโนมัติ
Ø ตัวอย่างที่ไม่ถูกต้อง
int amont  =  123L ;                         //illegal
float  f  =  4.0 ;                                  //illegal

Typecasting
Ø เราสามารถแปลงชนิดข้อมูลขนาดใหญ่ ให้เป็นชนิดข้อมูลที่เล็กกว่าได้ โดยวิธีการที่เรียกว่า
Typecasting
Ø รูปแบบคำสั่ง
( target_type) expression ;
Ø จะทำให้โปรแกรมสามารถคอมไพล์ผ่านได้
Ø บางกรณีอาจทำให้ข้อมูลบางส่วนสูญหายไป
ตัวอย่าง Typecasting
Ø ตัวอย่าง
Int amount  =  (int) 3.0 ;
·       แปลงนิพจน์ที่มีค่า 3.0 ข้อมูลชนิด double ให้เป็นชนิด int
Ø ตัวอย่างที่มีการตัดข้อมูลออก
int x ;
        double  y  = 1.25 ;
        x = (int)  y ;


ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง
Ø ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิงคือออปเจ็คในภาษาจาวา โดยแบ่งออกเป็นสองแบบ คือ
·       ชนิดข้อมูลที่เป็นคลาส
·       ชนิดข้อมูลที่เป็นอะเรย์
Ø ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิงจะมีวิธีการเก็บข้อมูลในหน่วยความจำทีแตกต่างจากการเก็บข้อมูลของชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานอาทิเช่น คำสั่ง


คลาส  String
Ø String เป็นคลาสที่กำหนดไว้ใน Java API ตัวแปรที่มีชนิดข้อมูลเป็น Sting ก็คือออปเจ็คชนิดหนึ่ง ซึ่ง String ก็คือออปเจ็คชนิดหนึ่ง ซึ่ง String มีข้อแตกต่างจากออปเจ็คทั่วๆไป ดังนี้
·       String เป็นออปเจ็คที่มีค่าคงที่ข้อมูลซึ่งก็คือข้อความใดๆที่อยู่ภายในเครื่องหมาย double quote (“  ”) ตัวอย่างที่เช่น
“ This  is  a java course ”
·       String เป็นออปเจ็คที่สามารถสร้างหรือกำหนดค่าได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่ง  new ตัวอย่างเช่น เราสามารถใช้คำสั่ง
String  s  =  “ Thana” ;
·       โดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้คำสั่ง
String  s  =  new  String (“ Thana”) ;

ตัวอย่างโปรแกรม
Public class StringDemo {
                Public static void main(String args[]){
                                String s1 = “Thana”;
                                String s2 = “Thana”;
                                String s3 = new String(“Thana”);
}
}

คำอธิบายโปรแกรม
Ø กรณีที่ไม่ใช้คำสั่ง new ภาษาจาวาจะพิจารณาจาก String Pool ว่ามีข้อความเดิมอยู่หรือไม่
Ø กรณีที่ใช้คำสั่ง new ภาษาจาวาจะสร้างข้อความใหม่และจองเนื้อที่ในหน่วยความจำเสมอ


ตัวดำเนินการที่ใช้กับข้อมูลชนิด String
Ø    String เป็นออปเจ็คที่มีตัวดำเนินการที่ใช้ในการเชื่อมข้อมความสองข้อความเข้าด้วยกันโดยใช้เครื่องหมาย + อาทิเช่น
String s1 = “Hello” + “ World”;
Ø    ตัวดำเนินการในการเชื่อมข้อความสามารถใช้เชื่อมข้อมูลชนิด String กับตัวถูกดำเนินการที่เป็นชนิดข้อมูลอื่น ๆ ภาษาจาวาจะแปลงชนิดข้อมูลดังกล่าวให้เป็นชนิด String โดยอัตโนมัติอาทิเช่น คำสั่ง
String s1 = “This”;
String s2 = s1 + “ is a test ”;
String s3 = s1+4;

การเรียกใช้ เมธอด ของ Class String
charAt(index)      อ่านตัวอักขระจากสตริง โดย index คือลำดับตัวที่จะอ่าน ตัวแรกเริ่มที่ 0
length( )                หาความยาวของสตริง โดยส่งค่ากลับเป็นจำนวนเต็ม
toLowerCase( )   เปลี่ยนอักขระในสตริง ให้เป็น ตัวพิมพ์เล็ก
toUpperCase( )   เปลี่ยนอักขระในสตริง ให้เป็นตัวพิมพ์ใหญ่


ตัวอย่างการเรียกใช้ เมธอด ของ Class String
int  stringSize;                                    // ประกาศตัวแปร
String name = “Android”;               // กำหนดค่าตัวแปร
stringSize = name.length( );           //ใช้เมธอด length


รับเขียนโปรแกรม Android Application และสอนการเขียนโปรแกรม สอน online ได้
อดุลย์ 081-6452400  e-mail fongwe_a@hotmail.com

วันอังคารที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2554

Overview Java Programming for Android

Video บันทึก JAVA for Android Course แบบ Online



-->





Overview Java Programming for Android 


พื้นฐานโปรแกรมภาษาจาวา

(Overview of Java Programming Language)

วัตถุประสงค์

แนะนำสัญลักษณ์และคำต่างๆ ที่ใช้ในภาษาจาวา

แนะนำข้อมูลค่าคงที่และชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานที่ใช้ในภาษาจาวา

แนะนำการประกาศและคำสั่งกำหนดค่าตัวแปร

แนะนำตัวดำเนินการประเภทต่างๆ

อธิบายการแปลงชนิดข้อมูล

แนะนำชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง

แนะนำคำสั่งที่ใช้ในการรับข้อมูลและคำสั่งที่ใช้ในการแสดงผล



ไวยากรณ์ภาษาจาวา (Java)

คำหรือข้อความที่สามารถเขียนในโปรแกรมภาษาจาวาจะต้องเป็นคำหรือข้อความในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งของประเภทต่างๆ เหล่านี้

คอมเม็นต์ (Comment)

Identifier

คีย์เวิร์ด (Keywords)

สัญลักษณ์แยกคำ (Separators)

ช่องว่าง (Whitespace)

ข้อมูลค่าคงที่ (Literals)



คอมเม็นต์

คอมเม็นต์คือข้อความที่แทรกอยู่ในโปรแกรม

คอมเม็นต์เขียนไว้เพื่อ

อธิบายโปรแกรม

ให้ผู้อ่านเข้าใจโปรแกรมง่ายยิ่งขึ้น

ช่วยทำให้การแก้ไขและปรับปรุงโปรแกรมเป็นไปได้ง่ายขึ้น

ภาษาจาวากำหนดรูปแบบของการเขียนคอมเม็นต์ไส้สามรูปแบบดังนี้

// This is a comment

คอมเม็นต์สำหรับบรรทัดเดียว

/* This is also a comment */

คอมเม็นต์สำหรับข้อความตั้งแต่หนึ่งบรรทัดขึ้นไป

/** This is a comment  for documentation */

คอมเม็นต์สำหรับข้อความที่ต้องการสร้างเป็นไฟล์เอกสารที่เป็นไฟล์ประเภท HTML

ตัวอย่างโปรแกรม

/* This program is to show

How to write comments  */

 
Identifier
Identifier คือชื่อที่ตั้งขึ้นในภาษาจาวา ซึ่งอาจเป็นชื่อของคลาส ชื่อของตัวแปร หรือชื่อของเมธอด
Identifier จะต้องเป็นไปตามกฎการตั้งชื่อดังนี้
                Identifier จะต้องขึ้นต้นด้วยอักขระ A-Z, a-z, _หรือ $ เท่านั้น
                Identifier ที่ประกอบไปด้วยตัวอักขระมากกว่าหนึ่งตัว ตัวอักขระหลังจากตัวแรกนั้นจะต้องเป็นตัวอักขระข้างต้น หรือเป็นตัวเลข 0 ถึง 9 เท่านั้น
                Identifier จะต้องไม่ตรงกับคีย์เวิร์ด
Identifier ในภาษาขาวาเป็น case sensitive ทำให้ myVariable แตกต่างจาก MyVariable

ตัวอย่างของ Identifier
ถูกต้อง                                                   ไม่ถูกต้อง
MyVariable                                          My Variable
_MyVariable                                       9pns
$x                                                           a+c
This_is_also_a_variable                   Hello’World
                                                                Public

หลักการตั้งชื่อที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไป

การตั้งชื่อของคลาส

                จะขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่แล้วตามด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็กหรือตัวเลข โดยจะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรนำของแค่ละคำที่ตามมาในชื่อ

ควรเป็นคำนาน

ตัวอย่างเช่น Sample, HelloWorld, Student หรือ GruduateStudent เป็นต้น

การตั้งชื่อของตัวแปร

                จะขึ้นด้วยตัวอักษรพิมพ์เล็ก โดยจะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่เฉพาะอักษรนำของแต่ละคำที่ตามมาในชื่อ

                ควรเป็นคำนามหรือเป็นชื่อสั้นๆ

                ตัวอย่างเช่น x, I, name, id หรือ gpa เป็นต้น

การตั้งชื่อเมธอด

                จะใช้หลักการเดียวกับการตั้งชื่อตัวแปร แต่ควรเป็นคำกริยา

                ตัวอย่างเช่น getName, setName หรือ showDetails เป็นต้น

การตั้งชื่อค่าคงที่

                จะใช้ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทั่งหมด และจะแยกคำโดยใช้เครื่องหมาย _(underscore)

                ควรเป็นคำนาม

                ตัวอย่างเช่น MIN_GPA เป็นต้น



คีย์เวิร์ด

คีย์เวิร์ดคือชื่อที่มีความหมายพิเศษในภาษาจาวา

คีย์เวิร์ดทุกตัวจะเป็นตัวอักษรตัวพิมพ์เล็ก

คีย์เวิร์ด goto และ const

                เป็นคีย์เวิร์ดที่ไม่ได้ตรงกับคำสั่งใดในภาษาจาวา

คำว่า true และ false

                ไม่ได้เป็นคีย์เวิร์ดในภาษาจาวา แต่จะเป็นข้อมูลค่าคงที่ชนิดตรรกะ

คำว่า null

                ไม่ได้เป็นคีย์เวิร์ดในภาษาจาวา แต่จะเป็นข้อมูลค่าคงที่ของตัวแปรที่มีชนิดข้อมูลเป็นประเภทอ้างอิง

คีย์เวิร์ดที่ใช้ในภาษาจาวา


ข้อมูลค่าคงที่
ข้อมูลค่าคงที่คือคำที่ใช้แสดงข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักขระ ข้อความ หรือค่าทางตรรกะ
ข้อมูลค่าคงที่แบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้
                ตรรกะ (boolean)
ตัวอักขระ (character)
ตัวเลขจำนวนเต็ม (integral)
ตัวเลขทศนิยม (floating point)
ข้อความ (string)
ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐาน
ชนิดข้อมูลในภาษาจาวาแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ
                ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐาน
                ชนิดข้อมูลแบบอ้างอิง
ชนิดข้อมูลแบบพื้นฐานแบ่งออกเป็น 4 ประเภทดังนี้
                ชนิดข้อมูลตรรกะ (Logical) คือชนิด boolean
ชนิดข้อมูลอักขระ (Textual) คือชนิด char
ชนิดข้อมูลตัวเลขจำนวนเต็ม (Integral) คือชนิด byte, short, int และlong
ชนิดข้อมูลตัวเลขทศนิยม (Floating point) คือชนิด float และ double

ข้อมูลชนิดตรรกะ
Ø ข้อมูลชนิดตรรกะมีข้อมูลค่าคงที่อยู่ 2 ค่าคือ
·       True และ false
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
·       Boolean flag = true ;
เป็นการกำหนดตัวแปรที่ชื่อว่า flag ให้มีชนิดข้อมูลเป็น Boolean โดยกำหนดให้มีค่าเป็น true
                ข้อมูลชนิดตัวอักขระ
Ø ข้อมูลชนิดตัวอักขระใช้เพื่อแสดงตัวอักขระหนึ่งตัว ซึ่งถูกเก็บอยู่ในรูปของมาตรฐาน Unicode ขนาด 16 บิต
Ø โดยจะมีค่าตั้งแต่ ‘\u0000’ถึง ‘\uFFFF’
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
·       Char letter = ‘\u0041’
เป็นการประกาศตัวแปรที่ชื่อว่า letter ให้เป็นข้อมูลชนิด char โดยมีค่าเป็น \u0041 ซึ่งมีค่าเท่ากับตัวอักษร A
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
·       Char letter = ‘\A’
เป็นการประกาศตัวแปรที่ชื่อว่า letter ให้เป็นข้อมูลชนิด char โดยมีค่าเป็น  A เช่นเดียวกับคำสั่งก่อนหน้านี้


ข้อมูลชนิดตัวเลขตัวเต็ม
Ø มีชนิดข้อมูลพื้นฐาน 4 ชนิดคือ
·       Byte, short , int , long
Ø โดยทั่วไปข้อมูลชนิดตัวเลขจำนวนเต็มจะถูกกำหนดให้มีชนิดข้อมูลเป็น int
Ø ข้อมูลมีค่าคงที่สามารถเขียนได้สามแบบดังนี้
·       เลขฐานสิบคือการเขียนเลขจำนวนเต็มทั่วไป อาทิ เช่น -121 และ 75362 เป็นต้น
·       เลขฐานแปดคือการเขียนเลขจำนวนเต็มที่ขึ้นต้นด้วยเลข 0 แล้วตามด้วยตัวเลข ตั้งแต่ 0 ถึง 7 อาทิเช่น 016 (มีค่าเท่ากับ 14 ในเลขฐานสิบ)
·       เลขฐานสิบหกคือการเขียนเลขจำนวนเต็มที่ขึ้นต้นด้วย 0x  หรือ แล้วตามด้วยเลขตั้งแต่ 0 ถึง  9 หรือตัวอักษร  A ถึง F อาทิเช่น 0xA2 (มีค่าเท่ากับ 162 ในเลขฐานสิบ)
Ø ตัวแปรคือข้อมูลที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าที่ได้ในโปรแกรมโดยใช้คำสั่งกำหนดค่า
Ø คำสั่งในการประกาศตัวแปรของภาษาจาวามีรูปแบบดังนี้
dataType  variableName [, variableName] ;
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
Int amount ;
double x , y ;
float price, wholeSalePrice  ;
                คำสั่งกำหนดค่า (Assignment Statement)
Ø คำสั่งกำหนดค่า (assignment statement) ซึ่งมีรุปแบบดังนี้
variableName = expression ;
Ø ตัวอย่างเช่น
X  = 1 ;
Radius = 3.14 ;
C = ‘a’ ;
Y = x+4*3 ;
Amount = 121+14 ;

คำสั่งประกาศและกำหนดค่าตัวแปร
Ø เราสามารถที่จะประกาศและกำหนดค่าเริ่มต้นของตัวแปรภายในคำสั่งเดียวกัน โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้
dataType variableName  = expression [,variableName = expression] ;
Ø ตัวอย่างเช่น
Int amount = 123 ;
float price = 12.0f ;
double x = 4.0, y = 2.5 ;
ค่าคงที่
Ø การประกาศค่าคงที่ในภาจาวาทำได้โดยการใส่คีย์เวิร์ด final หน้าคำสั่งประกาศชื่อ โดยมีรูปแบบดังนี้
final dataType CONSTANT_NAME = experession ;
Ø ตัวอย่างเช่น คำสั่ง
final int MININUM = 4;
final double Min_GPA = 2.00 ;
ขอบเขตของตัวแปรและค่าคงที่
Ø ตัวแปรและค่าคงที่ซึ่งประกาศขึ้นจะสามารถใช้งานภายในบล็อกคำสั่ง ({}) ที่ประกาศเท่านั้น
Ø ภาษาจาวาแบ่งตัวแปรและค่าคงที่เป็นสองประเภทคือ
·       ตัวแปรหรือค่าคงทีที่เป็นคุณลักษณะของออปเจ็คหรือคุณลักษณะของคลาส
·       ตัวแปรหรือค่าคงทีที่อยู่ในบล็อกของเมธอดที่เรียกว่าค่าคงทีภายใน (local constant)หรือตัวแปรภายใน( local variable)
ค่าเริ่มต้นอัตโนมัติของตัวแปร
Ø ตัวแปรที่เป็นคุณลักษณะของออปเจ็คหรือคุณลักษณะของคลาสจะถูกกำหนดค่าเริ่มต้นให้โดยอัตโนมัติ
 
รับเขียนโปรแกรม Android Application และสอนการเขียนโปรแกรม สอน online ได้
อดุลย์ 081-6452400  e-mail fongwe_a@hotmail.com